ค้นหาบล็อกนี้

วันอาทิตย์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556

วันภาษาไทย


  
วันภาษาไทยแห่งชาติ 2556
วันที่ 29 กรกฎาคมของทุกปี
ประเทศไทยได้กำหนดให้เป็น "วันภาษาไทยแห่งชาติ" 
  
 
 
ธงชาติไทย 
   ธงชาติ และ ภาษา คือสิ่งที่บ่งบอกความเป็นไทย
 
 
        วันภาษาไทยแห่งชาติ วันที่ 29 กรกฎาคมของทุกปี คือ วันที่รำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ในด้านภาษาไทย และเพื่อกระตุ้น ให้ชาวไทยทั้งชาติได้ตระหนักถึงความสำคัญและคุณค่าของภาษาไทย และร่วมใจกันใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องเพื่ออนุรักษ์ภาษาไทยให้เป็นเอกลักษณ์อยู่คู่ชาติไทยต่อไป

 
วันภาษาไทยแห่งชาติ 2556

ความเป็นมาของวันภาษาไทยแห่งชาติ

 
 
       สืบเนื่องจากเมื่อ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นประธานและทรงอภิปรายเรื่อง “ ปัญหาการใช้คำไทย ” ร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิในการประชุมทางวิชาการของชุมนุมภาษาไทย คณะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสตอนหนึ่งความว่าณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งทรงแสดงพระปรีชาสามารถและความสนพระราชหฤทัยห่วงใยในภาษาไทย จนเป็นที่ประทับใจผู้ร่วมประชุมครั้งนั้นเป็นอย่างยิ่ง   

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสตอนหนึ่งความว่า...

        “...เรามีโชคดีที่มีภาษาของตนเองแต่โบราณกาล จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะรักษาไว้ ควรจะใช้คำเก่าๆ ที่เรามีอยู่แล้ว ไม่ควรจะมาตั้งศัพท์ใหม่ให้ยุ่งยาก…” 
ปัญหาเฉพาะในด้านรักษาภาษาก็มีหลายประการ อย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในทางออกเสียง 
คือให้ออกเสียงให้ถูกต้องชัดเจน อีกอย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในวิธีใช้ 
หมายความว่าวิธีใช้คำมาประกอบประโยค 
นับเป็นปัญหาที่สำคัญ ปัญหาที่สามคือความร่ำรวยในคำของภาษาไทย 
ซึ่งพวกเรานึกว่าไม่ร่ำรวยพอ จึงต้องมีการบัญญัติศัพท์ใหม่มาใช้ 
… สำหรับคำใหม่ที่ตั้งขึ้นมีความจำเป็นในทางวิชาการไม่น้อย แต่บางคำที่ง่ายๆ ก็ควรจะมี
 
 ภาษาไทย
วันภาษาไทยแห่งชาติ 2556 
 
       รัฐบาลจึงได้ประกาศให้วันดังกล่าวเป็นวันสำคัญ ตั้งแต่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 เป็นต้นมา 
  
 
        ภาษาไทยเป็นภาษาที่ เก่าเเก่ที่สุดในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีรากฐานมาจากออสโตรไทย ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับภาษาจีน มีหลายคำที่ขอยืมมาจากภาษาจีน

       พ่อขุนรามคำเเหงได้ประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นเมื่อปี พศ 1826 (คศ1283) มี พยัญชนะ 44 ตัว (21 เสียง), สระ 21 รูป (32 เสียง), วรรณยุกต์ 5 เสียง คือ เสียง สามัญ เอก โท ตรี จัตวา ภาษาไทยดัดเเปลงมาจากบาลี เเละ สันสกฤต

       คนไทยเป็นผู้ที่โชคดีที่มีภาษาของตนเอง เเละมีอักษรไทย เป็นตัวอักษร ประจำชาติ อันเป็นมรดกล้ำค่าที่บรรพบุรุษได้สร้างไว้ ซึ่งเป็นเครื่องเเสดงว่าไทยเราเป็นชาติที่มีวัฒนธรรมสูงส่งมาเเต่โบราณกาล เเละยั่งยืนมาจนปัจจุบัน คนไทยผู้เป็นเจ้าของภาษา ควรภาคภูมิใจที่ชาติไทยใช้ภาษาไทย เป็นภาษาประจำชาติมากว่า 700 ปีเเล้ว เเละจะยั่งยืนตลอดไป ถ้าทุกคนตระหนักในความสำคัญของภาษาไทย

ความสำคัญของภาษาไทย

        ภาษาเป็นวัฒนธรรมที่สำคัญของชาติ ภาษาเป็นสื่อใช้ติดต่อกันเเละทำให้วัฒนธรรมอื่นๆเจริญขึ้น เเต่ละภาษามีระเบียบของตนเเล้วเเต่จะตกลงกันในหมู่ชนชาตินั้น ภาษาจึงเป็นศูนย์กลางยืดคนทั้งชาติ ดังข้อความ ตอนหนึ่งในพระราชนิพนธ์ในพระบาท สมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่อง "ความเป็นชาติโดยเเท้จริง" ว่า ภาษาเป็นเครื่องผูกพันมนุษย์ต่อมนุษย์เเน่นเเฟ้นกว่าสิ่งอื่น เเละไม่มีสิ่งใด ที่จะทำให้คนรู้สึกเป็นพวกเดียวกันหรือเเน่นอนยิ่งไปกว่าภาษาเดียวกัน รัฐบาลทั้งปวงย่อมรู้สึกในข้อนี้อยู่ดี เพราะฉะนั้น รัฐบาลใดที่ต้องปกครองคนต่างชาติต่างภาษา จึงต้องพยายามตั้งโรงเรียนเเละออกบัญญัติบังคับ ให้ชนต่างภาษาเรียนภาษาของผู้ปกครอง เเต่ความคิดเห็นเช่นนี้ จะสำเร็จตามปรารถนาของรัฐบาลเสมอก็หามิได้ เเต่ถ้ายังจัดการเเปลง ภาษาไม่สำเร็จอยู่ตราบใด ก็เเปลว่า ผู้พูดภาษากับผู้ปกครองนั้นยังไม่เชื่ออยู่ตราบนั้น เเละยังจะเรียกว่าเป็นชาติเดียวกันกับมหาชนพื้นเมืองไม่ได้ อยู่ตราบนั้น ภาษาเป็นสิ่งซึ่งฝังอยู่ในใจมนุษย์เเน่นเเฟ้นยิ่งกว่าสิ่งอื่น"

        ดังนั้นภาษาก็เปรียบได้กับรั้วของชาติ ถ้าชนชาติใดรักษาภาษาของตนไว้ได้ดี ให้บริสุทธิ์ ก็จะได้ชื่อว่า รักษาความเป็นชาติ

        คนไทยทุกคนใช้ภาษาไทยเป็นสื่อความรู้สึกนึกคิดเท่านั้นยังไม่เพียงพอ ควรจะรักษาระเบียบความงดงามของภาษา ซึ่งเเสดงวัฒนธรรม เเละ เอกลักษณ์ประจำชาติไว้อีกด้วย ดัง พระราชดำรัส สมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ตอนหนึ่งว่า
 
        "ภาษานอกจากจะเป็นเครื่องสื่อสารเเสดงความ รู้สึกนึกคิดของคนทั่วโลก เเล้ว ยังเป็นเครื่องเเสดงให้เห็นวัฒนธรรม อารยธรรม เเละเอกลักษณ์ ประจำชาติอีกด้วย ไทยเป็นประเทศซึ่งมีขนบประเพณี ศิลปกรรมเเละภาษา ซึ่งเจริญรุ่งเรืองมาแต่อดีตกาล เราผู้เป็นอนุชนจึงควรภูมิใจ ช่วยกัน ผดุงรักษามรดกทางวัฒนธรรมอันเป็นทรัพย์สินทางปัญญาที่บรรพบุรุษได้ อุตส่าห์สร้่างสรรค์ขึ้นไว้ให้เจริญสืบไป "

วันภาษาไทยแห่งชาติ 2556

วัตถุประสงค์ของวันภาษาไทยแห่งชาติ มีดังนี้


        1. เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ผู้ทรงเป็นนักปราชญ์ และนักภาษาไทย รวมทั้งเพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ที่ได้ทรงแสดงความห่วงใย และพระราชทานแนวคิดต่างๆ เกี่ยวกับการใช้ภาษาไทย 
 
        2. เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในมหามงคลสมัยเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ ในวันที่ 5 ธันวาคม 2542
 
       3. เพื่อกระตุ้นและปลุกจิตสำนึกของคนไทยทั้งชาติให้ตระหนักถึงความสำคัญและคุณค่าของภาษาไทย ตลอดจนร่วมมือร่วมใจกันทำนุบำรุงส่งเสริม และอนุรักษ์ภาษาไทย ซึ่งเป็นเอกลักษณ์และเป็นสมบัติวัฒนธรรมอันล้ำค่าของชาติให้คงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป
 
       4. เพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการใช้ภาษาไทย ทั้งในวงวิชาการและวิชาชีพ รวมทั้งเพื่อยกมาตรฐานการเรียนการสอนภาษาไทยในสถานศึกษาทุกระดับให้สัมฤทธิผลยิ่งขึ้น

        5. เพื่อเปิดโอกาสให้หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐบาลและเอกชนทั่วประเทศมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย เพื่อเผยแพร่ความรู้ภาษาไทยในรูปแบบต่างๆ ไปสู่สาธารณชนทั้งในฐานะที่เป็นภาษาประจำชาติ และในฐานะที่เป็นภาษาเพื่อการสื่อสารของทุกคนในชาติ

ซึ่งพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในครั้งนั้น มีใจความว่า....
  

“...ในปัจจุบันนี้ปรากฏว่า ได้มีการใช้คำออกจะฟุ่มเฟือย และไม่ตรงกับความหมายอันแท้จริงอยู่เนืองๆ ทั้งออกเสียงก็ไม่ถูกต้องตามอักขรวิธี ถ้าปล่อยให้เป็นไปดังนี้ ภาษาของเราก็มีแต่จะทรุดโทรม ชาติไทยเรามีภาษาของเราใช้เองเป็นสิ่งอันประเสริฐอยู่แล้ว เป็นมรดกอันมีค่าตกทอดมาถึงเราทุกคนจึงมีหน้าที่จะต้องรักษาไว้
 
          
พระราชนิพนธ์  
พระราชนิพนธ์เรื่อง ติโต นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ และพระมหาชนก
 
     ฉะนั้นจึงขอให้บรรดานิสิตและบัณฑิต ตลอดจนครูบาอาจารย์ได้ช่วยกันรักษาและส่งเสริมภาษาไทย ซึ่งเป็นอุปกรณ์และหลักประกันเพื่อความเจริญวัฒนาของประเทศชาติ...” นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ยังมีพระปรีชาญาณและพระอัจฉริยะภาพในการใช้ภาษาไทย ทรงรอบรู้ปราดเปรื่องถึงรากศัพท์ของคำไทย คือ ภาษาบาลีและสันสกฤต ทรงพระอุตสาหะวิริยะแปลและเรียบเรียงวรรณกรรมภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทยที่ สมบูรณ์ด้วยลักษณะวรรณศิลป์ มีเนื้อหาสาระที่มีคุณค่า เป็นคติในการเสียสละเพื่อส่วนรวม และเป็นแบบอย่างแก่ประชาชนในการใช้ภาษาไทย ดังจะเห็นได้จากพระราชนิพนธ์แปลเรื่องนายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ ติโต พระราชนิพนธ์แปลบทความเรื่องสั้นๆ หลายบท และพระราชนิพนธ์เรื่อง พระมหาชนก เป็นต้น


แม่พิมพ์ พ่อพิมพ์โรงเรียนบางลี่วิทยา

วันอาทิตย์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2556

อาคาร 5


อาคารอเนคประสงค์ 2

อาคาร 1

บุคลากร



ตำแหน่ง
ชาย
หญิง
จำนวนคน
ผู้อำนวยการ
รองผู้อำนวยการ
ครู
พนักงานราชการ

ครูอัตราจ้าง
ครูชาวต่างชาติ
เจ้าหน้าที่ธุรการ 
ลูกจ้างประจำ (พนักงานบริการ)
ลูกจ้างชั่วคราว
นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู


๑๖


-
-


-
 
๔๔
-



-



๖๐






รวม
๓๒
๕๖
๘๘

ประวัติความเป็นมาของโรงเรียนบางลี่วิทยา

    โรงเรียนบางลี่วิทยา ตั้งอยู่ที่อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๔๙๙ เดิมใช้ชื่อว่า “โรงเรียนบางลี่ (เทพสุธาประชาสรรค์)” เปิดทำการสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดกองการศึกษาพิเศษ กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ในที่ดินของนายแป๊ะ เทพสุธา จำนวน ๑๐ ไร่ ๒ งาน ๖๘  ตารางวา ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรและแผนการศึกษาแห่งชาติ เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๓ จึงเปลี่ยนเป็นโรงเรียนประถมศึกษาตอนปลาย ยังคงสังกัดกองการศึกษาพิเศษ กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการตามเดิม ต่อมาโรงเรียนประสบปัญหาเด็กนักเรียนน้อยลงเรื่อยๆ ทั้งนี้เนื่องมาจากเหตุสองประการ คือ โรงเรียนประถมศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด (โรงเรียนสังกัดสำนักงานประถมศึกษาแห่งชาติ) เปิดทำการสอนระดับประถมศึกษาตอนปลายขึ้นในทุกโรงเรียนประการหนึ่ง กับโรงเรียนตั้งอยู่ในที่ลุ่มน้ำท่วมทุกปี มีความยากลำบากในการสัญจรไปมาของนักเรียนเป็นอันมาก ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดความเบื่อหน่ายไม่อยากจะเข้าเรียนอีกประการหนึ่ง 

         ดังนั้น กระทรวงศึกษาธิการ จึงประกาศยุบเลิกโรงเรียนบางลี่ (เทพสุธาประชาสรรค์) และได้ประกาศจัดตั้งโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นขึ้นให้ชื่อว่า โรงเรียนบางลี่วิทยา สังกัดกองการมัธยมศึกษา กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ ๒ มิถุนายน ๒๕๑๘ อนุมัติแผนการจัดชั้นเรียนเป็น ๓-๒-๐ โดยให้ใช้สถานที่และอุปกรณ์ของโรงเรียนเดิมไปพลางก่อน และให้โอนทรัพย์สินข้าราชการและลูกจ้างประจำไปยังสังกัดใหม่ทั้งหมด แต่เนื่องจาก บริเวณที่ดินโรงเรียนเดิมมีน้อยเกินไปไม่เพียงพอกับการขยายตัวอย่างรวดเร็วของโรงเรียน จึงได้ย้ายมาตั้งอยู่ตรงข้ามกับโรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่๑๗ โดย จ.ส.ต.อั๋น และนางละมัย สูติวงษ์ มีจิตศรัทธามอบที่ดินจำนวน ๒๒ ไร่ ๘๐ ตารางวา นางกิมเน้ย เหลืองวิไล มีจิตศรัทธามอบที่ดินจำนวน ๘ ไร่ ๑ งาน ๔๐ ตารางวา คณะกรรมศึกษาของโรงเรียนร่วมกันจัดหาเงินซื้อที่ดินมอบให้อีก ๑๐ ไร่ และที่สำรองสาธารณะ ไร่ ๓๒.๔ ตารางวา ปัจจุบันโรงเรียนบางลี่วิทยา มีที่ดินทั้งสิ้น ๔๙ ไร่ ๒ งาน ๕๒.๔ ตารางวา และสังกัดอยู่ในเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๙ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ